วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีมีฐานการผลิต ที่ประเทศไหนบ้าง และผลิตเกี่ยวกับอะไร

ฐานการผลิต
 -บริษัท Microsoft มีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
 -บริษัท Apple ซิลิคอนแวลลีย์ อ่าวซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา

 -บริษัท Google ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
ผลิตเกี่ยวกับ
บริษัท Microsoft โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ

บริษัท Apple ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แอปเปิลปฏิวัติคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 ด้วยเครื่องแอปเปิลทู (Apple II) และแมคอินทอช (Macintosh) ในยุค 80 ปัจจุบันแอปเปิลมีชื่อเสียงด้านฮาร์ดแวร์ เช่น ไอแมค ไอพอด ไอโฟน ไอแพด และร้านขายเพลงออนไลน์ไอทูนส์

บริษัท Google การโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา 

Software ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

Software ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
         ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง ลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ ซอฟต์แวร์นั้น นอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ หุ่นยนต์ในโรงงาน หรือ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
        การใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ
                                                                                                                         
   

Technology ที่นิยมใช้มากที่สุด

       Technology ที่นิยมใช้มากที่สุด
        โลกยุคการสื่อสารไร้พรมแดนในปัจจุบัน คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทมากมายในชีวิตประจำวัน เราสามารถฝากถอนเงินสดกันได้มากยิ่งขึ้นโดยผ่านระบบ ATM แทนที่จะต้องเดินไปทำรายการยังธนาคารโดยตรงแบบสมัยก่อน การซื้อตั๋วหนังผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่หือรับจ่ายสินค้าบนอินเทอร์เน็ตที่มีให้เห็นกันจนชินตา ระบบการจัดการสำนักงานยุคใหม่ที่นำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เสมือนเป็นสำนักงานอัตโนมัติ มีการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันหลายสาขา ผู้บริหาร และพนักงานที่เกี่ยวข้องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อตัดสินใจดำเนินการได้อย่างทันท่วงที สิ่งเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นแนวโน้มของการใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเป็นไปอย่างขยายตัวและนับวันเพิ่มมากขึ้น
        คอมพิวเตอร์ ถือเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกันอย่างแพร่หลาย ในสมัยก่อนรูปร่างของคอมพิวเตอร์จะไม่เหมือนเครื่องพีซีที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ ขนาดของคอมพิวเตอร์ในยุคนั้นค่อนข้างใหญ่ และมีน้ำหนักมาก การพกพาไปไหนมาไหนจึงไม่สะดวกนัก จึงนิยมใช้กันตามห้องปฏิบัติการใหญ่ๆหรือทำสงครามเป็นหลัก แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการเล็งเห็นประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ในกลุ่มผู้ใช้งานที่มีมากขึ้น จึงส่งผลให้ความนิยมมีมากขึ้นเป็นลำดับ จากอุปกรณ์ขนาดใหญ่มหึมา ได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีขนาดเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด ความสามารถในการพกพาที่ง่ายก็เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่ง ที่พบได้ในคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน อีกทั้งระดับราคาก็ปรับตัวลงไปอย่างมาก สมัยก่อนคนที่จะมีคอมพิวเตอร์ต้องมีฐานะค่อนข้างดีพอสมควร หรือไม่ก็จะพบเห็นตามห้างร้านหรือบริษัทเพียงเท่านั้น เมื่อระดับราคาปรับตัวลดลง กลุ่มผู้ใช้จึงขยายวงกว้างมากขึ้น และแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน
ประกอบกับเทคโนโลยีของการสื่อสารและโทรคมนาคมที่ขยายตัวมากยิ่งขึ้น บทบาทการใช้งานคอมพิวเตอร์จึงได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างปฏิเสธไม่ได้ จากเดิมที่คนใช้อยู่ในกลุ่มเล็กๆ ก็เริ่มมีการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกันมากขึ้น มีการเริ่มใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลาย ข้อมูลสามารถเชื่อมถึงกันได้แค่ปลายนิ้วสัมผัส การติดต่อสื่อสารทำได้แบบไร้พรมแดน ผู้ใช้อีกซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้อีกซีกโลกหนึ่งได้อย่างง่ายดาย ก่อให้เกิดสารสนเทศที่มีประโยชน์มากมายมหาศาล


สรุปบทที่3 ซอฟแวร์และภาษาคอมพิวเตอร์


สรุปบทที่3 ซอฟแวร์และภาษาคอมพิวเตอร์

   ซอฟต์แวร์เป็นกลุ่มคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ สามารถจำแนกได้ สามารถจำแนกได้เป็น2ประเภทใหญ่ๆคือซอฟต์แวร์ระบบและซอฟต์แวร์ประยุกต์ ระบบปฎิบัติการถือเป็นซอฟต์แวร์ที่เกียวข้องกับการควบคุมและดูแลระบบคอมพิวเตอร์โดยรวมทั้งหมด โดยมีคุณสมบัติในการทำงานต่างๆ เช่น ทำงานหลายงานได้ สามารถแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อยหลายๆ ส่วนแล้วทำงานร่วมกัน หรือรองรับผู้ใช้ได้หลายคน สำหรับซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ แบ่งตามลักษณะการผลิตและกลุ่มการใช้งาน ซึ่งมีผู้ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก การเลือกซอฟต์แวร์มาใช้งานนั้นสามารถหาเลือกซื้อได้ทั้งที่จำหน่ายแบบสำเร็จรูป ว่าจ้างให้ผลิตตามแบบเฉพาะของตนเอง ดาวน์โหลดฟรี ทดลองใช้ หรือนำเอาโอเพ่นเซอร์สพัฒนาเพื่อใช้งานเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กัยการเหมาะสม ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุคด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ยุคแรกที่ใช้ภาษาเครื่อง ซึ่งถือว่าเป็นภาษาระดับต่ำ และพัฒนามาเป็นภาษาแอสแซมบลีในยุคที่สอง ต่อมาได้ตัดทอนรูปแบบของคำสั่งและพัฒนาให้ไกล้เคียงกับภาษาของมนุษย์มากยึ่งขึ้นหรือเรียกว่า ภาษาระดับสูง ในยุคที่สาม แต่การเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนมากขึ้นจำเป็นต้องใช้ความชำนาญมากพอ จึงได้มีการพัฒนาภาษาระดับสุงมาก สำหรับช่วยเหลือในการเขียนโปรแกรมอีกครั้งในยุคที่สี่ และมีแนวโน้มจะใช้ภาษาที่ไกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้นไปอีก เรียกว่า ภาษาธรรมชาติในยุคที่ห้า

                                 แบบฝึกหัดท้ายบทที่3 ซอฟแวร์และภาษาคอมพิวเตอร์
1.ซอฟต์แวร์ประยุกต์เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หรือ application software จะถูกติดตั้งและทำงานบนระบบปฏิบัติการเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ มีทั้งประเภทสามารถหาซื้อมาใช้ได้เองตามท้องตลาดและพัฒนาขึ้นมาใช้ได้เองเฉพาะกรณี 

2.ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไป มีกี่ประเภท จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท
- ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว
นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือสำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์งานดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น
- ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย
มุ้งเน้นการให้บริการกับผู้ใช้หลายๆ คนนิยมใช้สำหรับการประมวลผลงานข้อมูลสำหรับ เครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมฯที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่า เครื่องแม่ข่าย
- ระบบปฏิบัติการแบบฝัง
มักพบเห็นได้กับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ หรือ สมาร์ทโฟน บางรุ่นสามารถช่วยในการทำงานแบบเคลื่อนที่ได้ดี เป็นระบบที่เกิดขึ้นมาหลังสุด บางรุ่นระบบมีคุณสมบัติใกล้ เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เช่น รองรับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลง

3. ระบบปฏิบัติการแบบฝัง(Embedded OS )คืออะไร นิยมใช้กับอุปกรณ์ประเภทใด จงอธิบาย
ตอบ. เป็นระบบปฏิบัติการชนิดหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร เฉพาะอย่างยิ่งกับอุปกรณ์ประเภทสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นโทรศัพท์ที่มีความสามารถ หลากหลาย ไม่ใช่โทรเข้า-ออกได้แต่เพียงอย่างเดียว ยังสามารถ ดูหนัง ฟังเพลง ท่องเว็บรับอีเมล์และรับส่งแฟกซ์ได้ในเวลาเดียวกันอีกด้วย

4.โปรแกรมป้องกันไวรัส มีความสำคัญอย่างไรบ้าง
ตอบ. เป็นโปรแกรมยูทิลิตี้ชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดีซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเสมือนยามคอยตรวจสอบดูแลระบบทั่วไปว่ามีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีโปรแกรมนี้มันก็จะฟ้องขึ้น เราก็สามารถลบทิ้งได้ทันที เพื่อความราบรื่นในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

5. นายอภิชาติต้องการเก็บข้อมูลไฟล์หลายๆไฟล์ เป็นอันเดียวกันและให้มีขนาดที่เล็กลง ควรจะใช้โปรแกรมประเภทใด จงอธิบาย
ตอบ. winrar เพราะ เป็นโปรแกรมที่เก็บไฟล์งานต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่มารวมกัน และ ทำให้ขนาดของไฟล์ที่รวมกันนั้นมีขนาดเล็กลง 

6.ซอฟต์แวร์กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจประเภท Word Processing ที่นักศึกษารู้จักมีอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบอย่างน้อย 3 โปรแกรม
ตอบ. 1. Microsoft office Word
          2. Microsoft office Excel
          3. Microsoft office PowerPoint

7.ซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม (Software Suite) คืออะไร
ตอบ. คือซอฟต์แวร์ที่นำเอาคุณสมบัติต่าง ๆ ของโปรแกรมแต่ละตัวมาจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วทำการจำหน่ายรวมกันทีเดียว ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ที่รู้จักกันดีคือMicrosoft office,Adobe cs ฯลฯ ซึ่งมีการใช้งานที่ง่ายขึ้นและราคาถูกลงกว่าการแยกซื้อซอฟต์แวร์แต่ละตัวมาใช้อีกด้วย

8. นางสาวศิริพรต้องการทำรายงานการรับจ่ายเงินในแต่ละวันอย่างง่าย ควรใช้โปรแกรมประเภทใด
ตอบ. Microsoft excel

9.Internet Ralay Chat คืออะไร แตกต่างจาก Instant Messaging อย่างไรบ้าง
ตอบ. เป็นโปรแกรมประเภทที่ใช้สำหรับสนทนากลุ่ม โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกกลุ่มที่จะสนทนาได้ตาม ต้องการสามารถตอบโต้กันได้ด้วยข้อความและคนอื่นในห้องสนทนาสามารถเห็นข้อความนั้นด้วยพร้อมๆกันหมดเหมือนกับการพูดคุยในที่สาธารณะ นอกจากนั้นยังสามารถเลือกการสนทนาเพียงรายคนได้ แต่โปรแกรมประเภทส่งข้อความด่วนหรือ Instant Messaging อาจมีวัตถุประสงค์ของการใช้งานที่แตกต่างจาก Internet Ralay Chat บ้างคือ มุ้งเน้นใช้งานเพื่อส่งหรือฝากข้อความตามที่ต้องการได้แบบทันทีและนิยมใช้สนทนากันแบบรายบุคคลมากกว่า

10. โปรแกรมประเภทการนำเสนองาน เหมาะสมกับกลุ่มคนประเภทใด จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ. เหมาะสมกับการนำเสนอขายสินค้าของนักขายมืออาชีพ ครู อาจารย์ หรือวิทยากรที่ต้องการนำเสนองานให้มีความโดดเด่นและน่าสนใจ เนื่องจากสามารถใส่เทคนิคการนำเสนอผลงงานต่าง ๆเข้าไปได้มากกว่าทำให้ผู้รับชมสร้างการจดจำได้ง่ายกว่า

11.ในการเรียกดูข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โปรแกรมใดที่นิยมเอาใช้มากที่สุด และมีคุณสมบัติเด่นๆอะไรบ้าง
ตอบ. โปรแกรมประเภทบราวเซอร์ จะถูกนำมาใช้ในการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมากที่สุด โดยสามารถแสดงผลลัพธ์ออกมาได้ทั้งที่อยู่ในรูปของตัวอักษรธรรมดา ภาพกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงข้อมูลประเภทเสียง

12. จงยกตัวอย่าง web application ที่นักศึกษารู้จักหรือใช้บริการอยู่ในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 รายการพร้อมทั้งอธิบายหลักการทำงานด้วย
ตอบ. 
1. www.google.com
          2. www.hotmail.com
          3. www.youtube.com

13. ผู้ที่ทำงานด้านออกแบบและจัดการ website เช่น webmaster ควรจะเลือกใช้โปรแกรมอะไรบ้างเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนในการทำงาน
ตอบ. dreamweaver เอาไว้ออกแบบหน้าเว็บ และก็เขียนโค๊ด และสร้างเว็บjava script เป็นสคริป ที่ใช้ใส่ลูกเล่นในเว็บ สามารถเขียนได้ในโปรแกรม dreamweaver flash เอาไว้สร้างเอนนิเมชั่น พวกหัวเว็บphotoshop เอาไว้ใช้งานรูปภาพ

14.ซอฟต์แวร์ประเภท Open Source คืออะไร
ตอบ. คือกลุ่มของซอฟต์แวร์ที่มีการเปิดเผยโค้ดที่ใช้สำหรับเขียนให้คนทั่วไปสามารถนำเอาไปใช้หรือพัฒนาต่อได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อแต่อย่างใด ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดด้วย ซึ่งโค้ดที่ได้มานั้นมาจากการพัฒนาด้วยทีมงานที่หลากหลายทั่วโลก โดยไม่หวังถึงค่าตอบแทนแต่อย่างใด

15.ภาษาระดับสูงมาก หรือ very-high level language มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ. ภาษาการเขียนโปรแกรมกลุ่มนี้จะช่วยให้รูปแบบการเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น โดยอาจใช้เพียงแค่หยิบหรือวางปุ่มคำสั่งบางอันลงไป โดยผู้เขียนอาจจะรู้เพียงว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรบ้างไม่จำเป็นต้องทราบว่ามันจำทำได้อย่างไร เพราะถือเป็นหน้าที่ของภาษาระดับสูงมากนั้นจะคอยจัดการแทนเอง ทำให้สร้างคำสั่งหรือรูปแบบหลักๆ ได้ง่ายไม่ต้องเสียเวลาในการอบรมการเขียนโปรแกรมมากนัก เพียงแต่ใช้ความรู้พื้นฐานในการเขียนเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเอามาใช้ได้เลยทันที

16. จงยกตัวอย่างของการนำเอาภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 ไปใช้งาน มาอย่างน้อย2 ตัวอย่างพร้อมทั้งอธิบายประกอบ
ตอบ. ภาษาคอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 เป็นการใช้ภาษาที่ใกล้เคียงภาษามนุษย์มากขึ้นหรือเรียกว่า ภาษาธรรมชาติ ซึ่งทำงานโดยอาศัยระบบฐานความรู้เพื่อช่วยแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆ และทำให้คอมพิวเตอร์เข้าใจและจดจำโครงสร้างนั้นไว้ได้ ซึ่งนิยมนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับสาขาปัญญาประดิษฐ์ ตัวอย่างเช่น
1. การพัฒนาความรู้และการจำในหุ่นยนต์
2. การสั่งงานโปรแกรมด้วยเสียง
...................................................................................

โดย นางสาววนิดา มุ้ยเผือก
คณะเทคโนโลยีการจัดการ
สาขาการจัดการทั่วไป
วิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
กลุ่มเรียน พุธเช้า (08.00 -11.00)

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

สรุปท้ายบท
           คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน ดังนั้น การเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องของระบบคอมพิวเตอร์ ความหมายปละลักษณะสำคัญของของเครื่องคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบ ประเภท ตลอดจนการจัดประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของไมโครคอมพิวเตอร์ และบริษัทผู้ผลิตหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเรียนรู้เรื่องระบบคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์มี 4 องค์ประกอบ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
3. ข้อมูลและสารสนเทศ
4. บุคลากร (Peepleware)

          องค์ประกอบแต่ละอย่างล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกันทั้นสิ้น หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง การทำงานจะไม่มีความสมบูรณ์เต็มที่ พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยหน่วยทำงาน 5 หน่วยด้วยกันคือ หน่วยประมวลผลกลางหน่วยความจำหลั หน่วยความจำสำรอง ซึ่งทำหน้าที่ให้ประมวลผลหน่วยความจำหลักทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งประมวลผล หน่วยผลความจำสำรองจะใช้เป็นที่เก็บและ บันทึกข้อมุลไว้ในคอมพิวเตอร์เพื่อสามารถเลือกใช้ภายหลังได้ และมีทิศทางของระบบการทำงานเป็นเหมือนเส้นทางส่งผ่านข้อมูลระหว่างซีพียูและหน่วยความจำให้สามารถเชื่อมต่อกันได้
แบบฝึกหัดบทที่ 2 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

1. ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ ฮาร์ดแวร์ เป็นอุปกรณ์ที่จับต้องได้ สัมผัสได้ มองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม มีทั้งที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่อง (เช่น ซีพียู เมนบอร์ด แรม) และที่ติดตั้งอยู่ภายนอก (เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์)ซอฟต์แวร์ซอฟต์แวร์ ส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บรรจุคำสั่งเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ โดยปกติแล้วจะถูกสร้างโดยบุคคลที่เรียกว่า นักเขียนโปรแกรม (programmer) เป็นองค์ประกอบทางนามธรรม ไม่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้เหมือนกับฮาร์ดแวร์ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.ซอฟต์แวร์ระบบ
2.ซอฟท์แวร์ประยุกต์


2. หน่วยงานที่ชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงการซอฟต์แวร์ไทย
ตอบ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอพต์แวร์แห่งชาติ เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย โดยมียุทธศาสตร์หลักในการผลักดันซอฟต์แวร์ของไทย อาทิ Enterprise Software, Animation and Multimedia, Game and Mobile Applications และ Embedded Software ทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ


3. นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ต้องวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้รวมไปถึงผู้บริหารของหน่วยงานว่าต้องการระบบโปรแกรมหรือลักษณะงานอย่างไร เพื่อจะพัฒนาระบบงานให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด เช่น สำนักงานบัญชีต้องการซอฟแวร์แบบใดที่เหมาะกับงานบัญชี


4. ช่างเทคนิค มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์
ตอบ 1. มีความชำนาญทางด้านเทคนิคโดยเฉพาะ
2.มีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
3.หน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้ใช้งานได้ตามปกติ


5. Software Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์
ตอบ เกี่ยวข้องในการพัฒนาซอฟต์แวร์ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาอย่างมีแบบแผน อาศัยหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์มาช่วย เช่น วัดค่าความซับซ้อนของซอฟท์แวร์ และหาคุณภาพของซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นมาได้ มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากพอสมควร อยู่ในทีมงานพัฒนาซอฟต์แวร์กลุ่มเดียวกับนักเขียนโปรแกรมและนักวิเคราะห์ระบบ พบเห็นได้กับการผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น การสร้างระบบปฏิบัติการ การเขียนโปรแกรมเกมส์


6. การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด
ตอบ ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network Administrator)


7. binary digit คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
ตอบ ระบบเลขฐานสอง หรือที่เรียกว่า binary system เป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยตัวเลขเพียง 2 ตัวเท่านั้น คือ 0 กับ 1 เราเรียกว่าเป็นตัวเลขฐานสองหรือไบนารีดิจิต (binary digit) มักเรียกย่อๆว่า บิต(bit) นั่นเอง เกี่ยวข้องคือ ข้อมูลที่จะนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ ต้องแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน สถานะหรือรูปแบบนี้เราเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอล


8. กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ขั้นตอนที่ 1 กด SHIFT+Dเพื่อป้อนตัวอักษร
ขั้นตอนที่ 2 สัญญาณของตัวอักษร D ส่งไปยังระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
ขั้นตอนที่ 3 แปลงอักษร D ให้อยู่ในรุปแบบมาตรฐาน ของรหัส ASCขั้นตอนที่ 4 แสดงผลโดยแปลงกลับเป็นตัวอักษร D บนอุปกรณ์แสดงผล


9. การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ยุคแรกใช้บัตรเจาะรูเพื่อควบคุมลายทอผ้า นำบัตรแบบใหม่มาประยุกต์ใช้มากขึ้น เช่น IBM 80 Column พัฒนามาใช้สื่อแบบใหม่มากขึ้นจนถึงปัจจุบัน แบ่งการนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้เป็น 2วิธีด้วยกันคือ
- ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device) ผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูล เช่น คีย์บอร์ด (keyboard) สำหรับข้อมูลประเภทตัวอักษร หรืออักขระพิเศษ สแกนเนอร์ (scanner)สำหรับข้อมูลประเภทภาพ ไมโครโฟน (microphone) สำหรับข้อมูลประเภทเสียง ฯลฯ
-ผ่านสื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage) ดึงเอาข้อมูลที่ได้บันทึกหรือเก็บข้อมูลไว้ก่อนแล้วโดยใช้ สื่อเก็บบันทึกข้อมูล สำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเก็ตต์ หรือซีดี เครื่องคอมพิวเตอร์จะอ่านข้อมูลเหล่านี้โดยอาศัยเครื่องอ่านสื่อโดยเฉพาะ เช่น ฟล็อปปี้ไดรว์ ซีดีรอมไดรว์ บัตรเจาะรูจัดอยู่ในกลุ่มการนำเข้าข้อมูลวิธีนี้เช่นกัน (ปัจจุบันไม่พบเห็นการใช้งานแล้ว)


10. พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ “สมอง” และประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้อง อะไรบ้าง
ตอบ หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วย1. ระบบเลขฐานสอง หรือ ไบนารี (Binary) 2. แอดเดรส3. บัส 4. หน่วยความจำแคช 5. ความเร็วสัญญาณนาฬิกา6. รีจิสเตอร์ 7. ทรานซิสเตอร์ 8. Arithmetic logic unit (ALU)9. Floating - Point Unit (FPU)10. Control Unit 11. Decode unit


11. ROM และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ Rom คือ หน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถเขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ใช้เก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะข้อมูลใน ROM จะอยู่กับเครื่องอย่างถาวร ถึงแม้ไฟจะดับหรือปิดเครื่องไปก็ไม่สามารถทำให้ข้อมูลหรือคำสั่งในการทำงานต่างๆหายไปได้นิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าnonvolatile memoryส่วนRAM หน่วยความจำที่จดจำข้อมูลคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลังทำงานอยู่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา หากไฟดับหรือมีการปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะถูกลบเลือนหายไปหมด


12. machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ วัฏจักรเครื่อง หมายถึง วงจรการทำงานของ Processor ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องกับเวลาที่Processor ทำงาน โดยจะถูกควบคุมด้วยแผงวงจรเล็กๆ ที่ระบบ PC เรียกว่า Clock ซึ่งวัดหน่วยเป็นล้านรอบต่อวินาที (MHz)


13. ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบ เวลาปฏิบัติการ อยู่ขั้นตอนที่ 3 และ 4 (Execute และ Store) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคำนวณและนำผลลัพธ์ไปเก็บเพื่อรอให้เรียกใช้
...................................................................................................

โดย นางสาววนิดา มุ้ยเผือก
คณะเทคโนโลยีการจัดการ
สาขาการจัดการทั่วไป
วิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
กลุ่มเรียน พุธเช้า (08.00 -11.00)

วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดในห้องเรียนบทที่ 2




1.องค์ประกอบของคอมิวเตอร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
                              


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

·         ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
o    หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
o    หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
o    หน่วยความจำหลัก
o    หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
o    หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit ) 
หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก
ฮาร์ดแวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

·         ซอฟต์แวร์ (Software)
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
o    ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
o    ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
ซอฟต์แวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

·         บุคลากร (Peopleware)
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีกนักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
o    การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
o    การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
o    การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
o    การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
o    การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น
·         ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และสารสนเทศ คือ
ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังตาราง
มีความสัมพันธ์กัน (relevant)
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
มีความทันสมัย (timely)
ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate)
เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
มีความกระชับรัดกุม (concise)
ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete)
ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน
คุณสมบัติของสารสนเทศที่มีประโยชน์

 

การเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศ

·         กระบวนการทำงาน (Procedure)
กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
1.จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
2.สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
3.เลือกรายการ
4.ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
5.รับเงิน
6.รับใบบันทึกรายการ และบัตร
การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น

2. Data หมายถึง
ตอบ  ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือ เหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งข้อมูลสามารถหาได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ หรือสิ่งรอบๆ ตัว

3. Information หมายถึง
ตอบ สารสนเทศ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลด้วยวิธีการที่เหมาะสม และถูกต้อง จนได้ผลลัพธ์ตรงตามความต้องการ อยู่ในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และอยู่ในช่วงเวลา

4. INPUT Device มีอะไรบ้าง
ตอบ

   1. แป้นพิมพ์(Keyboard)  เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลที่สามารถพิมพ์หรือเคาะได้ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร
  2. เมาส์(Mouse) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลจากการชี้ตำแหน่งบนจอภาพ
  3. แทร็กบอล(Track Ball) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับข้อมูล โดยการชี้และเลือกข้อมูลผ่านทางจอภาพเช่นเดียวกับเมาส์แต่  แทร็กบอลจะเลื่อนตัวชี้โดยการหมุนลูกบอลที่อยู่ด้านบน
  4. จอยสติก  (Joy Stick)  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลมีลักษณะเป็นคันโยกขึ้นลง  ซ้ายขวา  เพื่อควบคุมตำแหน่งของตัวชี้
  5. เครื่องอ่านบาร์โค๊ต  (Bar Code Reader)  เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากรหัสของเลขฐานสองที่อยู่ในรูปของรหัสแถบ (Bar Code)ซึ่งประกอบด้วยแถบสีดำและยาว ความกว้างของแถบสีดำตัวกำหนดรหัสที่แทนค่าของตัวเลข
  6. สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล  โดยการอ่านหรือสแกน(Scan) ข้อมูลที่ต้องการ  เครื่องสแกนจะมีเซลล์ไวแสงที่ตรวจจับความเข้มของแสงที่สะท้อนจากข้อมูล  แล้วแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลให้เครื่องคอมพิวเตอร์ดำเนินการต่อไป
  7. เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง  (Optical Character Reader:  OCR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่เป็นอักขระจากเอกสารต่างๆ เช่น ตัวอักษรบนเช็ค  ตัวอักษรบนเอกสารอื่นๆ
  8. เครื่องอ่านหมึกพิมพ์แม่เหล็ก (Magcnetic Ink Character Reader: MICR) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลที่พัฒนาเพื่อใช้สำหรับการอ่านสัญลักษณ์ที่พิมพ์จากหมึกพิมพ์ที่ผสมกับผงเหล็กออกไซด์
  9. ปากกาแสง (Light Pen)  เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกชนิดหนึ่งโดนการแตะปากกาแสงไปตามตำแหน่งหรือทิศทางที่ต้องการ  มักใช้ในงานออกแบบ
 10. จอสัมผัส  (Touch Screens)  เป็นอุปกรณ์สามารถทำงานได้ทั้งการรับและการแสดงผลการรับข้อมูลจะใช้นิ้วสัมผัสที่หน้าจอ  เพื่อเลือกเมนู เช่น หน้าจอของเครื่อง ATM
 11. กล้องถ่ายภาพดิจิตอล  (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการถ่ายภาพ  ข้อมูลที่ได้จะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณดิจิตอลแล้วเก็บข้อมูลดิจิตอลนั้นไว้ในอุปกรณ์ CCD (Charge Coupled Device) แล้วส่งข้อมูลไปประมวลผลในคอมพิวเตอร์
12. ไมโครโฟน (Microphone) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลจากเสียงพูดโดยตรง  เสียงที่ได้จะถูกแปลงสัญญาณเป็นสัญญาณดิจิตอล  เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้

5. OUTPUT Device มีอะไรบ้าง
ตอบ ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น

6.Thumb drive Flash Drive Handy drive แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ 

Thumb drive
เป็นชื่อทางการค้าครับ คุณสมบัติเหมือน CD-R, Floppy Disk, Hard Disk เป็นหน่วยความจำที่เสริมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ทาง Port USB และถือเป็นการเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ คือไม่ต้องมีตัว Drive ตัว Disk พกพาได้สะดวกมีขนาดเล็กเท่ากับหัวแม่มือ เป็นยุคแรกๆ ของอุปกรณ์จำพวก Flash Drive ความเร็วในการอ่าน เขียน ประมาณ 500KB/Sec มีความจุอยู่ระหว่าง 8 MB - 1024MB ในปัจจุบันอาจมีมากขึ้น สำหรับราคาในยุคแรกๆ ราคาสูง ขนาดความจุน้อย 


Flash Drive
มีชื่อเข้าโรงเรียนว่า USB Mass Storage Device ส่วนใหญ่เรียกกันว่า USB Flash Memory Drive , USB Flash Drive Memory หรือ USB Flash Drive การใช้งานเชื่อมต่อกับ Computer ผ่านทาง Port USB ใช้ Flash Memory เก็บข้อมูล ทำงานเป็น Drive เหมือน HardDisk อ่านและบันทึกข้อมูลได้อย่างเดียวไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ ซึ่งเป็นยุคต่อมาจาก Thumb drives ราคาถูกลง ความจุมีมากขึ้น ขนาดของตัว Flash Drive เล็กลงด้วย บางยี่ห้อมีขนาดประมาณ 1 นิ้ว

Handy drive
อันนี้แหละที่เราและคนส่วนใหญ่เรียกกัน เป็นชื่อทางการค้าครับ คุณสมบัติและการทำงานเหมือน Flash drive แต่ที่เพิ่มขึ้นมาคือ สามารถเล่นไฟล์ Mp3 ไฟล์วีดีโอ ไฟล์รูปภาพ ฟังวิทยุผ่านช่องเสียบหูฟัง และฟังก์ชันอื่นๆ ที่ผู้ผลิตจะใส่ลงไป ใช้แบตเตอรี่มีทั้งแบบใช้ถ่าน AA , AAA หรือถ่านชาตร์ ซึ่งจะชาตร์ถ่านผ่านทาง Port USB รูปลักษณ์สวยงาม แต่มีขนาดใหญ่กว่า Flash drive เนื่องจากต้องใช้แบตเตอรี่ สำหรับราคาแพงกว่า Flash drive อยู่บ้างเหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้งานที่หลากหลาย
..................................................................

โดย นางสาววนิดา มุ้ยเผือก
คณะเทคโนโลยีการจัดการ
สาขาการจัดการทั่วไป
วิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
กลุ่มเรียน พุธเช้า (08.00 -11.00)

แบบฝึกหัดบทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

สรุปท้ายบท

คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาช่วยเหลือการทำงานของมนุษย์อย่างมาก มีคุณสมบัติเด่นคือ ความเป็นอัตโนมัติทำงานด้วยความเร็ว มีความถูกต้องแม่นยำ น่าเชื่อถือ จัดเก็บข้อมูลทำงานซ้ำๆ กันและใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อติดต่อสื่อสารกันได้ คอมพิวเตอร์นั้นมีวิวัฒนาการที่รวดเร็วมาก ตั้งแต่ยุคสมัยดึกดำบรรพ์เป็นต้นมา มนุษย์เรามีความพยายามที่จะคอมพิวเตอร์คิด ค้นเครื่องไม้เรื่องมือต่างๆ เพื่อนำมาช่วยในการนับและคำนวณเริ่มตั้งแต่การใช้นิ้วมือเพื่อช่วยในการนับ ตัวเลขหนึ่งถึงสิบ แต่เมื่อค่าตัวเลขมีเพิ่มมากขึ้นวิธีนี้ก็ทำได้อย่างจำกัด มนุษย์จึงพยายามหาสิ่งใกล้ตัวมาช่วยนับเพิ่ม จากนั้นจึงได้พัฒนาและคิดค้นวิธีที่จะทำให้การนับต่างๆง่ายขึ้นกว่าเดิมกลาย มาเป็นกลไกที่ใช้คำนวณ จนวิวัฒนาการมาเป็นคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ในยุคแรกเน้นในการทำสงครามเป็นหลัก ต่อมามีการพัฒนาให้ดีขึ้น โดยปรับขนาดให้เล็กลงและมีแระสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เราสามารถนำเอาคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ในสายงานต่างๆได้มากขึ้น เช่น การใช้งานภาครัฐ ธุรกิจทั่วไป สายการบิน การศึกษา ธุรกิจนำเข้าและส่งออก ธนาคาร วิทยาศาสตร์และการแพทย์  เป็นต้น

ปริมาณผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ และคอมพิวเตอร์มีการเชื่อมโยงต่อกันเป็นเครือข่ายมากขึ้นการออกแบบตัวเครื่องในเรื่องใหม่ๆ มีการปรับรูปลักษณ์แปลกตามากกว่าเดิม นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาขีดความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ โดยนำเอาศาสตร์ทางด้านปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้ อย่างไรก้อตามคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ตามคำสั่งที่ได้รับมาเท่านั้น หากได้รับข้อมูลทีผิดพลาด การประมวลผลก็ย่อมผิดตามไปด้วยผู้ใช้จำเป็นต้องเข้าใจภาพรวมในการใช้งานคอมพิวเตอร์ว่า ไม่สามารถเอามาใช้แทนมนุษย์ได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ มนุษย์ยังเป็นผู้ควบคุมการทำงานบางอย่างอยู่

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1
ข้อ 1. ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ
  ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting) การประมาลผลของคอมพิวเตอร์จะทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้คำสั่งที่ได้กำหนดไว้
- ความเร็ว (Speed) หากนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้งานในการประมวลผลจะมำงานได้รวดเร็วกว่า
- ความถูกต้องแม่นยำ  (Accuracy) คอมพิวเตอร์จะไห้ผลลัพล์ที่แม่นยำตามคำสั่งที่ป้อน
- ความน่าเชื่อถือ (Reliability) จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ จะมีความน่าเชื่อถือและสามารถนำไปไช้ประโยชน์อื่นๆได้จริง
- การจัดเก็บข้อมูล (Storage Capability) จะมีไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่จำนวนมากเพื่อเก็บข้อมูล
- ทำงานซ้ำๆได้ (Repeatability) ลดปัญหาจากการเหนื่อยหล้าจากการทามงาน
- การติดต่อสื่อสาร (Communication) สามารถเชื่อมโยงเข้าหากันได้


ข้อ 2. เครื่อง SUAN-PAN เกี่ยวข้องกับประวัติของคอมพิวเตอร์ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ    SUAN-PAN เป็นอุปกรณ์ประเภทลูกคิดที่เอามาใช้สำหรับคำนวณของชาวจีนในสมัยก่อน
เพื่อช่วยในการคิดหาผลลัพธ์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้
กันในยุคปัจจุบัน

ข้อ 3. แท่งคำนวณของเนเปียร์(Napier’s bone) สร้างขึ้นมาโดยใคร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ    สร้างขึ้นโดยนักคณิตศาสตร์ชาวสก๊อตชื่อว่า จอห์น เนเปียร์ มีลักษณะเป็นแท่งไม้ตีเส้นตาราง
เพื่อเอาไว้คำนวณหาผลลัพธ์


ข้อ 4.  ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาของคอมพิวเตอร์" คือใคร และเหตุใดจึงได้รับการยกย่องเช่นนั้น
ตอบ   ชาร์ลส แบบเบจ เนื่องจากเขาเป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครื่องจักรกลให้สามารถ ทำงานตามคำสั่งได้

โดยไม่ต้องมานั่งคำนวณว่าผลลัพธ์ใหม่อีกครั้ง

ข้อ5. เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลกคือเครื่องใด และจงอธิบายว่าสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลใด
ตอบ   ENIAC ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นเพื่อการช่วยคำนวณ
วิถีกระสุนปืนใหญ่ของกองทัพสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2

ข้อ 6. John Von Neumann มีบทบาทอย่างไรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของคอมพิวเตอร์
ตอบ  เขาเป็นผู้เสนอแนวคิดและเผยแพร่ให้มีการพัฒนาเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลเละชุดคำสั่งไว้ภายใน
ได้เอง โดยไม่ต้องมาคอยป้อนข้อมูลเข้าไปใหม่ทุกครั้งซึ่งมันจะทำให้เสียเวลาในการทำงานอย่างมาก
ข้อ7. เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ในเชิงธุรกิจ คือเครื่องใด และนำมาใช้กับงานด้านใด
ตอบ  UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่นำเอามาใช้ในเชิงธุรกิจเครื่องแรก ใช้ในการทำนายผลการ
เลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา เครื่อง UNIVAC (UNIversal Automatic Computer)ในปี ค.ศ.1951 บริษัท Remington Rand (บริษัทของมอชลี่และเอ็คเคิร์ทเดิม) ได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า UNIVAC (UNIversal Automatic Computer) เพื่อใช้งานในเชิงธุรกิจเป็นครั้งแรก โดยนำมาใช้สำหรับทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา เครื่องนี้ใช้หลอดสุญญากาศ 5,000 หลอด แต่มีความเร็วในการทำงานสูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผลิตกันมาก่อนหน้านี้มาก สามารถเก็บตัวเลขหรือตัวอักษรไว้ในหน่วยความจำได้ถึง 12,000 ตัว นับได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ในเชิงธุรกิจ” Mauchly และ Eckert 


ข้อ8.ทรานซิสเตอร์กับแผงวงจรรวม เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  ทรานซิสเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อทดแทนการทำงานของหลอดสูญญากาศ โดยขนาดเล็กกว่าหลอดสูญญากาศ และยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น แต่เนื่องจากการทำงานที่ซับซ้อนและต้องการประมวณผลที่เร็วขึ้น จึงทำให้ทรานซิสเตอร์ถูกพัฒนามาเป็น แผงวงจรรวม โดยมีความ สามารถที่ดีกว่าเดิม ซึ่งเป็นการนำเอาทรานซิสเตอร์จำนวนนับพันตัวมารวมกันเป็นอุปกรณ์ชิ้นเดียว และมีขนาดเล็กลงจึงทำให้ลดต้นทุนในการผลิตลงไปได้มากและเครื่องที่ผลิตได้มีขนาดเล็กลงมาก เครื่องคอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ (Transistor) เนื่องจากหลอดสูญญากาศมีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้นและมีขนาดใหญ่เกินไป จึงได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ที่เรียกว่า ทรานซิสเตอร์ (Transistor)” ขึ้นเพื่อใช้งานแทน โดยนักวิทยาศาสตร์ของห้องปฏิบัติการเบล (Bell laboratory) แห่งสหรัฐอเมริกา
ข้อ9. E-Government คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  Electronic government หรือรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นโครงการที่นำเอาระบบเทคโนโลยีสารสน เทศอันทันสมัยมาให้บริการประชาชน ประชาชนชนทั่วไปสามารถใช้บริการต่างๆของภาครัฐบาลได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การยื่นเสียภาษีผ่านทางอินเตอร์เน็ต ฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ที่เชื่อมโยงเข้าถึงกันหมดทั่วประเทศ ฯลฯ

ข้อ10. สายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airline) และมีการลดต้นทุนโดนนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยได้อย่างไร
ตอบ  เป็นสายการบินรูปแบบหนึ่งที่เน้นการลดต้นทุนในการจัดการและบริหารงานให้น้อย ที่สุดเพื่อให้ สามารถแข่งขันกันในเรื่องราคาตั๋วโดยสารให้มีราคาที่ถูกลง จึงทำให้มีคนนิยมใช้บริการจำนวนมาโดยนำเอาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอันทัน สมัยมาช่วยในเรื่องของการรับจองการเดินทาง โดยผ่านช่องทางหลายๆ ช่องทาง เช่น ช่องทางที่1โทรศัพท์ ช่องทางที่2อินเทอร์เน็ต ช่องทางที่3 ตู้ เอทีเอ็มโดยไม่จำเป็นต้องออกตั๋วเป็นใบๆให้กับลูกค้า เพียงแค่แสดงบัตรใดๆที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ก็สามารถเดินทางได้ ทันที

 ข้อ11. ลักษณะเด่นของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับสื่อการสอนในอคีต
ตอบ  Computer Assiste Instruction เป็นสื่อการสอนรูปแบบใหม่ที่นำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร และเทคโนโลยีอื่นๆมาสร้างให้อยู่ในรูปแบบของสื่อมัลติมีเดียที่ประกอบด้วย รูปภาพ บทบรรยาย เสียงพูดและเทคนิคการนำเสนอต่างๆ ให้มีความน่าสนใจและก่อให้เกิดการอยากเรียนมากขึ้นถ้าหากเรียนแล้วไม่เข้าใจก็สามารถเรียนหรือฝึกฝนทบทวนซ้ำเองได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งสื่อแบบเดิม ไม่สามารถทำได้
 ข้อ12. รูปแบบของ E-banking สามารถ ทำได้ผ่านช่องทางอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างมาประกอบ อย่างน้อย  3 ช่องทาง
ตอบ  ธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นในปัจจุบัน สามารถทำธุรกรรมเกี่ยวกับการเงินได้หลายช่อง ทางมาก เช่น
- ผ่านเครือข่ายอินเตอร์ การเข้าไปใช้ระบบ จะมีรายชื่อผู้ใช้( User name ) และรหัสผ่าน ( Pass Word ) ที่ให้เข้าไปทำธรุกรรมได้ง่ายเพียงปลายนิ้ว บริการดังกล่าวครอบคลุมการทำธรุกรรมคล้ายกับระบบอื่น เช่น การโอนเงิน การสอบถามยอดเงินคงเหลือ ฯลฯ
- ผ่านระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ผู้ใช้เพียงกดหมายเลขโทรศัพท์อัตโนมัติที่ธนาคารระบุไว้ในการติดต่อทำธุระกรรม ก็สามารถเลือกทำรายการทางการเงินต่างๆ ได้เช่น การโอนเงิน การเติมเงินมือถือฯลฯ
- ผู้ตู้ATMผู้ใช้บริการสามารถเลือกทำรายการธุรกรรมต่างๆ ผ่านตู้ATMที่มีให้บริการของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ได้
ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการถอนเงินสด ฝากเงิน โอนเงิน และการชำระค่าบริการต่างๆ ได้ซึ่งเปิดให้บริการ 24 ช.ม     
ข้อ13. เครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer) นำไปใช้ประโยชน์ในด้านใด และมีความแตกต่าง
กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (
Microcomputer) อย่างไรบ้าง จงอธิบายประกอบ
ตอบ  คอมพิวเตอร์แบบมือถือ เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับนำไปใช้งานกิจกรรมส่วนบุคคล เช่น บันทึกการนัดหมาย หรือการใช้ติดต่อทางธุรกิจ เช่น รับ-ส่งอีเมล์ ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับตลาดหุ้น เป็นต้น แตกต่างจากไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป คือ มีขนาดที่เล็กลงและพกพาติดตัวได้สะดวกกว่า โปรแกรมที่ใช้ในไมโครคอมพิวเตอร์อาจนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์มือถือได้เช่นกัน แต่อาจตัดทอนคุรสมบัติบางอย่างลงไปบ้างเล็กน้อย

ข้อ14. แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ  เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใหม่ที่สามารถป้อนข้อมูลเข้าไปได้โดยการเขียนบนจอภาพเสมือนกับการเขียนลงบนกระดาษ หน้าจอสามารถพลิกไปมาได้ 2 ลักษณะคือเหมือนกับการใช้งานคอมพิว เตอร์โน๊ตบุ๊คทั่วไปหรือพับแบบกระดาษรองเขียนหนังสือ ซึ่ง เครื่องนี้มีราคาแพงกว่าคอมพิวเตอร์ รุ่นอื่นๆมาก


ข้อ15.  พีดีเอ (PDA – Personal Digital Assistants) ที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีกี่กลุ่มประกอบด้วยอะไรบ้างจงอธิบายประกอบ
ตอบ   แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
- Palm
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่เกิดขึ้นมาก่อน มีระบบปฎิการที่เป็นของตัวเองที่เรียกว่า palm os เหมาะสำหรับใช้งานเป็นเครื่องบันทึกช่วยจำ
- Pocket Pc
คล้ายกับเครื่อง palm แต่จะมีระบบปฎิบัติการที่ไม่เหมือนกัน คือ จะใช้ระบบปฎิบัติการที่เป็น ของบริษัทไมโครซอฟท์ สำหรับการใช้วินโดว์บนเครื่อง พีซี จะสามารถใช้งานได้ง่าย

ข้อ16.  ภาษาธรรมชาติ (natural language) คืออะไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง
ตอบ   เป็นระบบที่คอมพิวเตอร์ สามารถเข้าใจภาษาธรรมชาติของมนุษย์ได้เป็นอย่างดีเช่น รับรู้หรือจดจำเสียงมนุษย์ได้ เช่น ระบบที่เรียกว่า speech recognition ซึ่งสามารถแยกแยะเสียงสูงต่ำต่างๆ แล้วเอาไปวิเคราะห์พร้อมทั่งสั่งการได้เองอัตโนมัติเป็นการช่วยเหลือการทำงานของมนุษย์ เช่น ป้อน ข้อมูลด้วยเสียงแทนการพิมพ์ข้อมูลผ่านคีย์บอร์ดเข้าไปตรงๆ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน ของผู้ใช้ลงไปได้มาก เป็นต้น
                                                   ........................................................................................................
โดย นางสาววนิดา มุ้ยเผือก
คณะเทคโนโลยีการจัดการ
สาขาการจัดการทั่วไป
วิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
กลุ่มเรียน พุธเช้า (08.00 -11.00)